Sports News

ทั่วโลกเผชิญอากาศร้อนสุดขั้ว ผลจากคลื่นความร้อน-ปรากฏการณ์เอลนี

นับตั้งแต่เข้าเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา หลายประเทศในซีกโลกเหนือก็เผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นผิดปกติ ผลจากคลื่นความร้อนและปรากฏการณ์เอลนีโญ

ถ้อยแถลงจากองค์การอนามัยโลก ย้ำเตือนถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนจำนวนหลายล้านคนทั่วโลก ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ขณะนี้หลายประเทศที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือกำลังเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน และอีกส่วนที่เป็นสาเหตุมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

อุณหภูมิเฉลี่ยโลกร้อนทุบสถิติ 4 วันติด คาดสูงสุดในรอบ 100,000 ปี

อุณหภูมิเฉลี่ยโลกร้อนทะลุสถิติ 2 วันติด และจะทำลายสถิติไปเรื่อย ๆ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เสียงจากเทรนเนอร์ประจำยิมแห่งหนึ่งในเมืองฮูสตัน รัฐเท็กซัส ระบุว่า อากาศร้อนเสียจนไม่สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ เนื่องจากอากาศภายในโรงยิมนั้นร้อนเกินไป จนต้องย้ายที่มาออกกำลังที่ด้านนอกแทน

ขณะที่เมืองฟีนิกส์ ในรัฐแอริโซนา รัฐทางตอนใต้เช่นเดียวกับรัฐเท็กซัสที่กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อน จะเห็นว่าชาวเมืองสวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ และพากันสวมหมวกป้องกันแสงแดดที่แผดเผาตลอดวัน อุณหภูมิในเมืองฟีนิกส์ช่วงกลางวันอยู่ที่ราว 43.3 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นวันที่ 19 แล้ว อากาศร้อนยาวนานแบบนี้เคยเกิดขึ้นล่าสุดในปี 1974 หรือราว 50 ปีก่อน

ส่วนอุณหภูมิของเมื่อวานนี้ วันพุธที่ 19 กรกฎาคม ในช่วงเวลาประมาณ 14.00 น. อุณหภูมิสูงถึง 48.3 องศาเซลเซียส หรือ 119 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งทางการระบุว่า ตัวเลขที่สูงขนาดนี้เคยเกิดขึ้นล่าสุดวันที่ 20 มิถุนายน ปี 2017 เท่ากับว่า ช่วงบ่ายของเมื่อวานนี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของเมืองฟีนิกส์ในรอบ 6 ปี

คนที่เดือดร้อนกว่าประชาชนทั่วไปคือบรรดาคนไร้บ้านที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วเมือง และหลังการระบาดของโควิด-19 เมืองฟีนิสก์มีจำนวนคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นมาก อากาศที่ร้อนเกินไปเป็นอันตรายต่อคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถหลบเข้าที่ร่มหรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศได้

อย่างไรก็ตามทางการเมืองฟีนิกส์เปิดศูนย์ช่วยเหลือพิเศษที่มีชื่อว่า The Zone ภายในติดตั้งเครื่องปรับอากาศ มีที่พักให้นั่งหรือนอน และมีน้ำดื่มคอยบริการ รวมถึงมีแพทย์ที่จะช่วยรักษาหากชาวเมืองเกิดอาการฮีทสโตรกหรือเกิดแผลไหม้ เสียงจาก ดานา เพจก์ หนึ่งในคนไร้บ้านที่เข้ามาใช้บริการ The Zone เล่าว่า ช่วงไม่กี่วันมานี้ชีวิตยากลำบากมาก แม้แต่การเดินไปซื้อของก็อันตรายต่อสุขภาพเกินไป

ที่ยุโรป หลายประเทศก็กำลังเผชิญกับอากาศที่ร้อนเสียจนทำให้อุณหภูมิทุบสถิติในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน

ที่เมืองปาแลร์โม เมืองเอกของเกาะซิซิลี สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังในอิตาลี อากาศที่ร้อนเกินไปทำให้บรรดานักท่องเที่ยวหลายคนหมดสนุก ฤดูร้อนของเกาะซิซิลีปีนี้มีแนวโน้มที่จะโหดร้ายยิ่งกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากอุณหภูมิสูงสุดของเมื่อวันพุธที่ผ่านมาสูงถึง 45-46 องศาเซลเซียส และอิตาลีเผชิญกับอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสแบบนี้มานานติดต่อกันหลายวันแล้ว

เนื่องจากคลื่นความร้อนที่กำลังเล่นงานกลุ่มประเทศทางตอนใต้ของทวีปยุโรป สถานการณ์ล่าสุดทำให้รัฐบาลอิตาลีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน 23 เมืองทั่วประเทศ

ที่ชายหาดของเมืองมาร์กเซย เมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งชาวฝรั่งเศสและนักท่องเที่ยวต่างไปรวมตัวกันที่ชายหาดเพื่อคลายร้อน เสียงจากฟาราห์ อับเดอร์ราห์มาเน ชาวเมืองระบุว่า พวกเขาทนอยู่ในบ้านตลอดวันไม่ไหว และรู้สึกโชคดีที่เมืองยังมีชายหาดให้มานั่งรับลม ในขณะที่เสียงจาก อิซาเบลลา นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และในช่วงนี้ที่เยอรมนีก็ร้อนแทบไม่ต่างกัน

อากาศที่ร้อนขึ้นไม่เพียงกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงที่ไฟป่าจะเกิดง่ายขึ้นไปด้วย อย่างสถานการณ์ไฟป่าในกรีซที่เกิดขึ้นหลายจุดและเกิดบ่อยขึ้นในช่วงนี้จนรัฐบาลอิตาลีต้องส่งเครื่องบินเข้าช่วยดับไฟความช่วยเหลือด้านเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ดับไฟป่าที่เห็นอยู่นี้มีฝรั่งเศสเข้าร่วมด้วย ส่วนในภาคพื้น โรมาเนีย โปแลนด์ และสโลวาเกีย ส่งทีมนักดับเพลิงเข้าสมทบกับนักดับเพลิงในกรีซที่ขณะนี้กำลังรับมือกับไฟป่าในหลายจุด

ในภาพรวมอุณหภูมิของพื้นที่ทางตอนใต้ยุโรปเพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อิตาลีเจอกับวันที่ร้อนที่สุดสูงถึง 48 องศาเซลเซียส และเกิดกรณีของคนงานตีเส้นถนนเกิดอาการฮีทสโตรกจนเสียชีวิตมาแล้วเมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

อุณหภูมิในกรีซสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสติดต่อกันหลายวันจนทางการตัดสินใจปิดสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งในช่วงกลางวัน โดยเฉพาะบรรดาวิหารในกรุงเอเธนส์ที่เป็นพื้นที่เปิดโล่ง เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวเป็นลมแดด ผลพวงจากคลื่นความร้อนระลอกใหม่ที่มีชื่อว่า "ชารอน" ที่นักอุตุนิยมวิทยาในอิตาลีตั้งชื่อมาจากชื่อของนักเดินเรือผู้นำทางวิญญาณไปยังโลกแห่งความตายในตำนานเทพเจ้ากรีก คลื่นความร้อนชารอนเกิดขึ้นซ้ำเติมคลื่นความร้อน "เซอร์เบอรัส" ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาไป

โดยชื่อดังกล่าวมาจากชื่อของสุนัขสามหัวที่เฝ้าประตูนรก ชื่อเหล่านี้ทางนักอุตุนิยมวิทยาตั้งใจสื่อถึงความร้ายแรงของสถานการณ์ นอกเหนือจากสองประเทศข้างต้น ตุรกี ไซปรัส มอนเตเนโกร และโครเอเชียเองก็ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนเช่นกัน

อีกภูมิภาคที่กำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือ ภูมิภาคตะวันออกกลาง ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โรงงานผลิตน้ำแข็งในกรุงซานามีออเดอร์มากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้คนต้องการคลายร้อน ในขณะที่ยอดการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในปีนี้ก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน อันที่จริงกรุงซานาตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลถึง 2,200 เมตรและช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมที่เป็นช่วงฤดูฝน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 15-25 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิล่าสุดของวันพุธที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมากลับสูงถึง 33 องศาเซลเซียส

ที่ซีเรีย พัดลมพกพากลายมาเป็นไอเทมยอดนิยมของผู้คนในช่วงนี้ ชาวบ้านเล่าว่า ปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยครั้งทำให้เลือกออกมารับลมข้างนอกแทน หรือบางคนก็ออกมาเดินโดยพกพัดลมพกพามาด้วย นอกจากนั้นวิธีบ้านๆ อย่างการเอาพัดลมเป่าถังน้ำแข็งเพื่อให้ลมที่พัดมาเย็นขึ้นยังถูกนำมาใช้ด้วยเช่นกัน

ที่อิรัก อากาศที่ร้อนขึ้นประกอบกับปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าและน้ำประปาทำให้ชาวบ้านหลายคนลงเล่นน้ำในแม่น้ำไทกริสเพื่อคลายร้อน แต่แม่น้ำปีนี้มีความผิดปกติ เพราะต่อให้เดินลุยน้ำไปจนถึงกลางแม่น้ำแล้ว ระดับน้ำกลับอยู่ที่เอวเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนของวิกฤตภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศนี ข้อมูลจากทางการชี้ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำไทกริสลดลงถึงร้อยละ 35 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบร้อยปี มีความกังวลว่าระดับน้ำจะลดต่ำยิ่งกว่านี้ เพราะที่นี่เป็นแหล่งคลายร้อนเดียว ตัวอย่างจากวิสซาม แอบด์ ชาวบ้านในกรุงแบกแดดเล่าว่า บางคืนที่ร้อนมากๆ จนนอนไม่หลับ เขาก็ออกมาว่ายน้ำก่อนจะกลับเข้าไปนอนต่อ

ขณะที่อูฐสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเพื่ออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายอย่างทะเลทราย แต่ดูเหมือนว่าอากาศทุกวันนี้จะร้อนเกินไปจนแม้แต่อูฐเองก็เป็นอันตรายได้ โดยที่เมืองกิซา ที่ตั้งของพีรามิดโบราณในอียิปต์ อูฐที่คอยให้บริการนักท่องเที่ยวถูกจับสวมหมวกเพื่อป้องกันไม่ให้แดดส่องลงมาที่หัวของมันมากเกินไป เสียงจากคนอียิปต์ระบุว่า อากาศปีนี้ร้อนยิ่งกว่าปีที่แล้ว และพวกเขาสัมผัสได้เลยว่า นี่คือความผิดปกติ

จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับหลายประเทศทั่วโลก มีแนวโน้มว่าฤดูร้อนปีนี้จะร้อนยิ่งกว่าปีก่อน ซึ่งรายงานจาก ไบรอัน ทูแลน รองประธานฝ่ายความปลอดภัยสาธารณะของบริษัท Everbridge ที่เป็นบริษัทแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินซึ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลในการแจ้งเตือนข้อความเข้าสมาร์ทโฟนของประชาชนในยามที่เกิดภัยพิบัติระบุว่า คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในปีนี้มีจำนวนครั้งมากกว่าปี 2022 ราวร้อยละ 50 อีกทั้งระยะเวลาที่คลื่นความร้อนคงอยู่ยังนานขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ที่เคยระบุว่า ยิ่งการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ปรากฏการณ์สภาพอากาศสุดขั้วแบบ คลื่นความร้อนเช่นนี้ ก็จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นตามมา

ยังไม่นับรวมภัยพิบัติจากสภาพอากาศสุดขั้วแบบอื่นๆ เช่น พายุและน้ำท่วมที่จะเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นเช่นกัน