วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 14 (ประกาศฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้) โดยมีรายละเอียดว่า ในวันที่ พฤษภาคม 2567 แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในขณะที่ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมภาคเหนือ ทำให้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้
โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่อาจจะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 มีดังนี้
ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2567 แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 7-16 พ.ค.67 ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น คำพูดจาก JOKER123 สล็อตเว็บตรง
เช็ก 45 จังหวัด สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว
ฟุตซอลไทย อันดับ 9 โลก หลังฟีฟ่า จัดอันดับทางการ